คำถามที่ถูกถามบ่อย

ที่ถูกถามบ่อยเกี่ยวกับ ระบบ3.9G
 1.ระบบ 3G คืออะไร
คำตอบ
        เราคงเคยได้ยินคำว่า 3G มากันสักระยะหนึ่งแล้ว  แต่หลายคนยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าระบบ 3G ที่ได้ยินกันบ่อยๆนั้น คือ ระบบอะไร  ดังนั้น ก่อนที่เราจะกล่าวถึงปัญหาของระบบ 3G ในประเทศไทย  เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ระบบ 3G หมายความว่าอย่างไร  กล่าวคือ ระบบ 3G คือ ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่สาม (Third Generation of Mobile Telephone - 3G) ซึ่งมี สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU (International Telecommunication Union) หรือ ซึ่งเป็นองค์กรชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ  ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำตลอดจนวางหลักเกณฑ์ในบริหาร และการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลก โดยมีแนวทางในการวางหลักเกณฑ์ทางการบริหารทรัพยากรด้านโทรคมนาคมของแต่ละประเทศสมาชิก  เพื่อให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน
ทั้งนี้ 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่มากในด้านความรวดเร็วและคุณภาพของข้อมูลที่ทำการส่ง  โดยการพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการแบบมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น  ทำให้มีการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า  ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลตลอดจนแอพพลิเคชั่นต่างๆดีขึ้น  รวดเร็วมากขึ้น  พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น  โดยผ่านอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ และ อินเทอร์เน็ต เป็นต้น

      2.ระบบ 1G  2G  3G คืออะไร
คำตอบ
Gย่อมาจากGeneration
1G-ระบบAnalog
2G-ระบบDigital
3G-ระบบWireless

1G
----------
เริ่มตั้งแต่ 1G ... ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้น ไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G

แต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่

2G
----------
หลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G ...
ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว


ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site
และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming

ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือเลย ... ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น

2.5G
----------
หลังจากนั้น ก็เป็นยุคก้ำกึ่งระหว่าง 2G และ 3G ... ซึ่งก็คือ 2.5G ซึ่ง 2.5G นี้ เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) นั่นเอง ซึ่งตามหลักการแล้ว ... เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ ความเร็วของ GPRS จะถูกจำกัดให้อยู่ที่ประมาณ 40 kbps เท่านั้น

2.75G
----------
เพิ่มนิดนึง ... ก่อนจะมาถึงยุค 3G เราก็ยังมี 2.75G ด้วย
ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75 G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น

**แต่ว่า ยุค 2.75G ของ EDGE นั้น ไม่ได้ถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ เพียงแค่ยกขึ้นมาเปรียบเทียบช่วงคาบเกี่ยวระหว่างยุค 2.5G และ 3G เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นอ่ะ**

3G
----------
ต่อมา ... ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น ... เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง
ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On ... คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย

      3. 3G กับ 3.9G แตกต่างกันตรงไหน
ตอนนี้ในไทยมี3G แท้ กับ 3G เทียมครับ
3G แท้ คือ เครือข่ายที่ให้สัญญาณ สามจี จริงๆ เช่น i-mobile 3GX หรือ TOT 3G บนคลื่นความถี่ WCDMA หรือ UMTS 2100 MHz และ ยังมีระบบ CAT CDMA บนเทคโนโลยี CDMA2000 1x EV-DO
3G เทียม ก็คือ การแปลงสัญญาณ GSM ให้เป็น 3G อย่างที่ AIS / True / Dtac กำลังทดลองให้บริการกันอยู่ AIS ก็วิ่งบนคลื่น 900 MHzอยู่ครับ Dtac กับ truemove 850MHz  ถ้าใบอนุญาตออกจะวิ่งที่ 2100 MHz

    4. ประโยชน์ของ3G       มีอย่างไรบ้าง   
คำตอบ    
ดูคลิปพวกนี้อาจจะทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นนะคะ  3Gแพทย์ชนบท                        http://youtu.be/xJ86uU0zbZc?hd=1
3Gอนาคตของคนไทย                      http://youtu.be/gIg4bI7SL6M?hd=1
3Gกล้วยไม้                                          http://youtu.be/tqsQ_0oGics?hd=1"                                                        
3Gkas1                                               http://bit.ly/mEgT8C
3Gsme                                                  http://bit.ly/l72hWK
3Gtape2ดร.เสรี                                http://bit.ly/mvrOS7
3Gเพื่อยกระดับการศึกษา                              http://bit.ly/m1MHE1
3Gเพื่อวิทยาการทางแพทย์             http://bit.ly/m1MHE1

5. เอส แอล คอนซอร์เตี้ยมคืออะไร     ประชาชนจะได้ใช้ 3.9G เมื่อไหร่  และใครจะเป็นคนสร้างโครงข่ายนี้ 
คำตอบ  จากกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของ ทีโอที

วันจันทร์ ที่ 9 พฤษภาคม 2554
ที่สำนักงานใหญ่ ทีโอที แจ้งวัฒนะ นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที และกลุ่มเอสแอล คอนซอเตียม โดยนายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถคอปอร์เรชั่น จำกัด และนายวสันต์ จาติกวณิช กรรมการบริหาร บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในสัญญาจ้างโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 โดยมีนายกำธร ไวทยกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บมจ.ทีโอที และนางศริญญา ไชยประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สำนักพัสดุและกฏหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ลงนามในฐานะพยาน พร้อมผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 3 หน่วยงานร่วมแสดงความยินดี ซึ่งโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะเป็นการสนับสนุนนโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติของรัฐบาลในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชนคนไทย ได้อย่างทั่วถึง และเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ทีโอที ในการดำเนินธุรกิจด้วยตนเองแทนการพึ่งพารายได้จากสัมปทาน
ทีโอที กล่าวว่า โครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่3G จะเป็นการสนับสนุนนโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติของรัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมของประเทศ และแผนแม่บท ICT ฉบับที่ 2 (2552-2556 ) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ทั่วประเทศ ช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรให้สูงขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศทั้งในด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การแพทย์ และสาธารณสุข และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งพนักงาน ทีโอที ทุกคนต่างให้การสนับสนุนเนื่องจากจะทำให้ ทีโอที สามารถดำเนินธุรกิจด้วยตนเอง ทดแทนการพึ่งพารายได้จากสัมปทาน และทำให้ ทีโอที สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
ทั้งนี้ การลงนามครั้งนี้ เป็นการลงนามจ้างกลุ่มเอสแอล คอนซอเตียมของบริษัท สามารถ คอมมิวนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ ไวร์เลส จำกัด สำหรับงานจ้างโครงการสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มูลค่า 15,999.50 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย
การสร้างระบบโครงข่ายหลัก (Core Network) จำนวน 1 ระบบ
ระบบสถานีฐาน (UTRAN) จำนวน 4,772 แห่ง
ระบบสื่อสัญญาณ (Transport Network)
ระบบบริการจัดการโครงข่าย (OSS) จำนวน 1 ระบบ
ระบบบริการเสริมพื้นฐาน (VAS) จำนวน 1 ระบบ
ระบบสนับสนุนการให้บริการ (Business Support System) จำนวน 1 ระบบ
รวมทั้งการติดตั้งอุปกรณ์และการจัดเตรียมสถานที่ (Site Preparation) และ อุปกรณ์สนับสนุนและบำรุงรักษาโครงข่าย3G
ทีโอที จะดำเนินการติดตั้งสถานีฐานทั่วประเทศจำนวน 5,320 แห่ง ครอบคลุม 57 จังหวัด โดยจะเป็นการสร้างสถานีฐานใหม่จำนวน 4,772 สถานี และย้ายสถานีฐานเดิม จากใจกลางกรุงเทพฯไปติดตั้งในปริมณฑลกรุงเทพฯแทนจำนวน 548 สถานี ซึ่งหลังจากที่ได้ลงนามในสัญญาแล้ว คาดว่าประมาณกลางไตรมาสที่4 ของปี 2554 ประชาชนคนไทยจะได้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เต็มรูปแบบในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 13 จังหวัดหลัก หลังจากนั้นภายในกลางปี 2555 จะสามารถใช้งานได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดให้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งหลังจากที่มีการลงนามเซ็นสัญญาว่าจ้างกลุ่มเอสแอลคอนซอเตียม แล้ว คาดว่าจะสามารถติดตั้งอุปกรณ์สำหรับใช้บริการแล้วเสร็จในพื้นที่สำคัญ ซึ่งมีประชากรหนาแน่น โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
- เฟส 1 คือ กทม. ทุกพื้นที่และรวมปริมณฑล 4 จังหวัด คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายใน 180 วัน
- เฟส 2 คือ 13 จังหวัดเศรษฐกิจ เช่น ชลบุรี ระยอง สงขลา สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก อุดรธานี นครราชสีมา ขอนแก่น และหนองคาย เป็นต้น โดยจะสามารถเริ่มให้บริการได้ภายใน 90 วัน
- และเฟสสุดท้าย จะขยายไปยังทุกจังหวัดในประเทศเพื่อให้ครอบคลุมต่อจำนวนประชากร 70% ภายใน 360 วัน โดย ทีโอที จะพิจารณาจากพื้นที่ที่มีความต้องการสูง
นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที กล่าวตอนท้ายว่า ปัจจุบัน ทีโอที มีลูกค้าผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TOT 3G ประมาณ 200,000 เลขหมาย โดยตั้งเป้าหมายปี 2554 จะมีลูกค้า ประมาณ 1.3 ล้านเลขหมาย และเพิ่มเป็น 7 ล้านเลขหมายในปี 2558 มีส่วนแบ่งตลาดไม่น้อยกว่า 8 % โดยแผนการตลาด ทีโอที จะขายผ่าน MVNO (Mobile Virtual Network Operator) เป็นหลัก และจะทำตลาดเองบางส่วนโดยทำตลาด convergence ร่วมกับผลิตภัณฑ์ในเครือของ ทีโอที เช่น ADSL หรือ โทรศัพท์ประจำที่
สำหรับการจัดสร้างโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ทั่วประเทศ มูลค่า 19,980 ล้านบาท แบ่งเป็น การประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง มูลค่า 17,440 ล้านบาท งบสำรองโครงการมูลค่า 540 ล้านบาท และการปรับปรุงโครงข่ายเดิมของ เอซีทีโมบายจาก 2G เป็น 3G มูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยโครงสร้างการลงทุนมาจากแหล่งเงินทุนของ ทีโอที ในสัดส่วนร้อยละ 20 และเป็นเงินกู้จากสถาบันการเงินร้อยละ 80 จากกลุ่มธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารยูโอบี ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อเสนอทางการเงินที่เป็นประโยชน์ต่อ ทีโอที สูงสุด กล่าวคือ ให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำที่สุด และระยะเวลาชำระคืนเงินกู้นาน รวมทั้งมีเงื่อนไขที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ภายใต้แบรนด์ “TOT 3G” บนคลื่น 2,100 MHz. ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานสากล ของ International Mobile Telecommunications 2000 , IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ International Telecommunication Union (ITU) ด้วยความเร็วสูง 14.4 Mbps (download)

ระบบ 3G เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบ ซึ่งหาอ่านได้ในกูเกิ้ล มีดังนี้ครับ

รู้ไว้ใช่ว่า 3G ในประเทศไทย


ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า 3G ในไทย ณ ตอนนี้นั้นเป็น 3G ที่ใช้ย่านความถี่โดยแบ่งดังนี้
AIS ใช้ 900, Dtac และ True ใช้ 850 ส่วน TOT นั้นใช้ 2100 ทำให้มีปัญหาในเรื่องเครื่องที่รองรับ
เพราะไม่ใช่ทุกเครื่องจะรองรับ 3G ทุกแบนด์ได้มันเลยเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเมื่อไรทุกเครือข่ายใช้งาน 3G
บน 2100 Mhz ซึ่งเป็นย่านมาตราฐาน 3G ทั่วโลกแล้ว ทุกเครื่องที่เขียนว่ารองรับ 3G จะใช้งานได้ครับ
แต่ปัญหาคือ ย่านดังกล่าว ในประเทศเรายังไม่มีใครได้รับสัมปทาน

 

เราจะสังเกตุอย่างไรว่าโทรศัพท์ของเราใช้ 3G ของค่ายไหนได้บ้าง?
ยกตัวอย่างภาพด้านบนจะเห็นว่า LG Smart phone ใช้  3G Network รุ่นนี้ใช้ 900 และ 2100
นั้นก็หมายความว่าโทรศัพท์รุ่นนี้นั้นสามารถใช้งานเครือข่าย 3G ของ AIS 900 และ 2100  ของ TOT  ได้เท่านั้น

อนาคต 3G ในประเทศไทย





เพิ่งเปิดตัวไปสดๆร้อนๆ กับ 3G ของ AIS  อย่าง AIS 3G ที่ได้เปิดให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ความถี่ 900 MHz และขยายพื้นที่บริการ 3G  ทั่วกรุงเทพชั้นใน  และอีก 7 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศไทย  ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี  ภูเก็ต สงขลา   ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน , ปราณบุรี)  และเพชรบุรี (ชะอำ)
โดยผู้ที่ใช้ซิมของ ค่าย AIS อย่าง GSM Advance และ 1-2-call สามารถสมัครใช้บริการอินเตอร์เน็ต edge+ และ 3G ได้ โดยแนะนำให้ท่านสมัครแพ็คเกจอินเตอร์เน็ตแบบคิดปริมาณการใช้งาน ถึงจะได้ความเร็ว 3G ระดับ Mbps  โดยความเร็ว 3G สูงสุดระดับ HSPA+ ที่ 21 Mbps  เพราะถ้าสมัครแบบรายชั่วโมงเหมือนเดิมก็จะได้ความเร็ว 3G สูงสุดที่ 384Kbps เท่านั้น  และด้วยโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะรองรับ 3G  ความถี่ 900MHz และ 2100MHz ดังนั้นผู้ที่เคยซื้อมือถือเก่าที่รองรับ 3G แต่ไม่ได้ใช้ 3G เลย ก็นำลองมาใช้อีกครั้ง  เพราะครั้งนี้คุณจะได้ท่องโลกอินเตอร์เน็ตได้สมบูรณ์มากขึ้น หากมีกล้องหน้าก็สามารถ video calling ได้ด้วย บนมือถือเครื่องเก่าที่คุณเคยซื้อไป






ให้บริการ 3G ย่านความถี่ 850 MHz  โดยก่อนหน้านี้มีการทดสอบ3G ของ dtac เมื่อวันที่  31 สิงหาคม 2552  ก่อนที่สิ้นสุดการทดสอบเมื่อ 8 กรกฎาคม 2554  ที่ผ่านมานี้เอง เปิดบริการ 3G เชิงพาณิชย์กลางเดือนสิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา   โดยครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพมหานครด้วยสถานีฐาน 1,220 แห่ง dtac กล่าวว่าด้วยช่องสัญญาณขนาด 10MHz ทำให้ระบบ 3G ของ dtac สามารถรองรับความเร็วในการดาวน์โหลดได้สูงสุดถึง 42 Mbps ลูกค้าปัจจุบันที่ใช้แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัดสามารถใช้ dtac 3G ได้ทันที ส่วนลูกค้าแบบอื่นสามารถเปิดใช้บริการได้โดยกด *3000# และโทรออก เบื้องต้นเริ่มมีการทดสอบเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554 จนถึงวันนี้ (26 ส.ค.)





ทางฝั่ง Truemove และ Truemove H  ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือระบบ 3G ความถี่ 850 MHz  ก็ยังคงที่เหมือนเดิมสำหรับพื้นที่บริการ 3G ที่ครอบคลุมทั่วกรุงเทพและปริมณฑล  ชลบุรี เชียงใหม่     ภูเก็ตบริเวณ สนามบินนานาชาติ และ หาดป่าตอง   และ ประจวบคีรีขันธ์ (บริเวณหัวหิน) โดย truemove อยู่ในระหว่างปรับปรุงระบบสัญญาณเครือข่ายอยู่ จนถึงปลายเดือนสิงหาคมนี้    โดยจะให้บริการ 3G แบบ HSPA+ ที่ให้ความเร็วสูงสุดถึง 21Mbps สำหรับสมาชิกเครือข่าย truemove H   สำหรับการสมัครเพื่อใช้ 3G นั้นยังคงเป็นแบบทดลองใช้ โดยต้องซื้อแพ็กเกจชั่วโมงอินเตอร์เน็ตแบบ EDGE  จะแถมชั่วโมง wi-fi และ 3G นี้ให้ ส่วนใครอยากใช้  3G unlimited ตอนนี้บริการเฉพาะลูกค้ารายเดือนที่ใช้ iPhone และ iPad รุ่น 3G จะมีแพคเกจ Unlimited ให้สมัครด้วย โดยสามารถเล่น 3G ได้ไม่จำกัดปริมาณข้อมูล แต่มีเงื่อนไขคือได้ความเร็วเต็มที่ 7.2 Mbps ใน 3GB แรก หลังจากใช้เกิน 3GB ไปแล้ว ความเร็ว 3G จะเหลือแค่ 256Kbps ทันที  ต่อเดือน

ผู้ให้บริการ 3G ความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สากลที่มือถือแทบทุกเครื่องรองรับ  เปิดบริการตั้งแต่ 3 ธันวาคม 2552  มาปีนี้   TOT จัดงานแสดงบริการ 3G ชื่อว่า Turn IT On ณ สยามพารากอน  เมื่อวันที่ 10-11 มิถุนายนที่ผ่านมา พร้อมประกาศเตรียมเปิดให้บริการ 3G ความถี่ 2100 MHz แบบความเร็วสูงสุดระดับ HSPA+ ถึง 42 Mbps (เร็วกว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แบบ 6 MB  ถึง 7 เท่า ) และขยายพื้นที่จาก 6 จังหวัดเป็น 18 จังหวัดจากทั่วทุกภาค  ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้  ได้แก่    กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง อุบลราชธานี นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย  เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก ลำปาง  สุราษฎร์ธานี  ภูเก็ต และ สงขลา    โดยทาง TOT3G ประกาศตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการ 3G ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ   ภายในเดือนพฤษภาคมปี 2555

แม้ว่าทุกค่ายจะพร้อมให้บริการ 3G แก่ประชาชนทั่วไปได้ใช้บริการแล้ว และทุกค่ายก็ใช้ 3G ระดับ HSPA+ (3.9G) ด้วย  แต่อย่าลืมว่าต้องเลือกค่ายที่ตรงกับคุณสมบัติมือถือ aircard หรือ tablet ของท่านเองด้วย เพราะอุปกรณ์แต่ละชิ้นก็รองรับ 3G บนคลื่นความถี่ที่แตกต่างกันไปในขณะที่แต่ละค่ายก็ใช้ความถี่ในการให้บริการ 3G ที่แตกต่างกันไปเช่นกัน ดังนั้นควรศึกษาสเปคของเครื่องให้ดีก่อนว่ารองรับ 3G หรือไม่ และเป็น 3G คลื่นความถี่ใด เพื่อให้ใช้คุณสมบัติด้าน Mobile Internet บนมือถือได้อย่างเต็มที่

7. ระบบ3.9G  จะเปิดใช้ได้ทั่วประเทศเมื่อไหร่
คำตอบ
ทีโอทีเปิดให้บริการ 3 จี ระบบ 3.9 จี อย่างเป็นทางการรายแรกของไทย โดยมั่นใจว่าจะให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศกลางปีหน้า ซึ่งจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000 ล้านบาท
นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พร้อมคณะกรรมการบริหาร  เปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  TOT  3G. ด้วยระบบ3.9  จี รายแรกของประเทศ และเป็นลำดับที่ 24  ของโลก เพื่อให้รองรับการสื่อสารที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นและถือเป็นการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศ  ตามแผนแม่บท ICT ฉบับที่2(2552-2556 )

โดย TOT 3G. ระบบ 3.9จี นี้  ทีโอทีเลือกใช้เทคโนโลยี HSPA( เอชเอสพีเอ) พลัส ด้วยคลื่น 2100เมกะเฮิร์ต มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 42 เมกะบิตต่อวินาทีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณทล

ส่วนในพื้นที่เขตภูมิภาคจะมีความเร็วที่ 21 เมกะบิตต่อวินาที เร็วกว่าระบบ 3จี ที่การรับส่งข้อมูลมีความเร็วเพียง 7  เมกะบิตต่อวินาที นอกจากนี้ยังสามารถรับส่งข้อมูลได้พร้อมกัน  ในลักษณะ Triple. Play.  คือใช้งานได้ทั้งโทรศัพท์อินเทอร์เน็ต และรับส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน

ซึ่งระบบติดตั้งโครงข่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณทล 18 จังหวัด จะแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายนนี้ และจะครอบคลุมทั่วประเทศในเดือนพฤษภาคมปีหน้า

ส่วนความคืบหน้าเรื่องการคัดเลือกตัวแทนผู้ขายส่ง หรือขายต่อบริการระบบ 3จี หรือเอ็นวีเอ็นโอ จำนวน 7 ล้านเลขหมายนั้น เบื้องต้นมีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทุกรายในตลาดให้ความสนใจ และมั่นใจว่าผู้ประกอบการรายใหม่ จะไม่ขัดแย้งกับผู้ให้บริการรายเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยคาดว่าการคัดเลือกตัวแทนจำหน่าย จะแล้วเสร็จภายในปลายเดือนนี้ถึงกลางเดือนหน้า  และเมื่อตัวแทนจำหน่ายใหม่  เปิดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าจะทำให้ทีโอที  มีรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่ปีละ10,000ล้านบาทได้ และมีระยะคืนทุนในช่วง 5 - 8ปีต่อจากนี้

8. ระบบ 3G ของทีโอที ดีกว่าของเอไอเอส ดีแทค ทรู  อย่างไร 
คำตอบมีดังนี้ครับ ผมได้คัดลอกการให้ข่าวของกรรมการผู้จัดการใหญ่ของทีโอทีซึ่งให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน ตามวันเวลา และฉบับดังที่เห็นข้างล่างนี้ หากท่านยังไม่แน่ใจให้เข้าไปดูในอินเตอร์เนตได้เลยนะครับ

ทีโอที ไม่หวั่น 3G เอกชน ยันมีของดีกว่า


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
8 กันยายน 2554 19:49 น.






       ทีโอที ไม่สนเอกชนเปิด 3G คุยความถี่ 2.1GHz คลื่นสากล ดีกว่าเยอะ จ่อเปิดบริการ 18 จังหวัด ภายในเดือนพ.ย.นี้ และพร้อมให้บริการทั่วประเทศเดือนพ.ค.55 เล็ง 4 ธุรกิจ ปะรูรั่วหลังหมดรายได้สัมปทานในอีก 2 ปีข้างหน้า
     
       นายอานนท์ ทับเที่ยง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือทีโอที กล่าวว่า ขณะนี้การดำเนินการให้บริการระบบ 3G ของทีโอทีถือว่าไม่ได้ล้าช้าอย่างที่ใครหลายคนคิด ถึงแม้ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเอกชนจะเปิดให้บริการ 3G แล้วก็ตาม แต่เป็นลักษณะของการอัพเกรดบนคลื่นความถี่เดิมที่มีอยู่ ทางทีโอทีไม่รู้สึกหวั่นเกรงแต่อย่างใด เพราะบริการ 3G ของทีโอทีนั้นเป็นคลื่นความถี่ย่าน 2.1GHz ที่เป็นมาตรฐานสากล    สามารถรองรับกับอุปกรณ์เชื่อมต่อที่หลากหลายกว่า และสามารถรองรับข้อมูลความเร็วสูงได้
     
       ภายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ ตามแผนการขยายเครือข่าย 3G ของทีโอทีนั้น คาดว่าจะเปิดให้บริการครอบคลุมในพื้นที่ให้บริการ 18 จังหวัด และจะครอบคลุมทั่วประเทศภายในเดือนพฤษภาคมปีหน้า ปัจจุบัน ทางทีโอทีมีผู้ใช้บริการบนเครือข่าย 3G อยู่ประมาณ 3 แสนรายแบ่งเป็นลูกค้าของทีโอทีเอง 8 หมื่นราย และลูกค้าจากการทำตลาดบริการขายต่อ บนโครงข่ายเสมือน หรือเอ็มวีเอ็นโออีก 2.2 แสนราย
       “ทางทีโอทีไม่กลัวคู่แข่งเอกชนที่เปิดทีหลังแต่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการมากกว่า เพราะเครือข่าย 3G ของทีโอทีใช้คลื่นความถี่มาตรฐาน 2.1 GHz ซึ่งใช้กันทั่วโลกเป็นมาตรฐานสากลกว่า ต่างจากบริษัทเอกชนที่เปิด 3G แต่ใช้คลื่นอื่น ซึ่งจำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเลือกอุปกรณ์ที่รองรับคลื่นนั้นๆ
       สำหรับแผนการติดตั้งโครงสร้าง 3G ที่ กลุ่มกิจการร่วมค้าเอสแอล คอนซอร์เตียม ชนะการประมูลไปด้วยราคา 15,999 ล้านบาทนั้น กำลังอยู่ระหว่างการติดตั้งขยายเครือข่าย แม้ว่าช่วงแรกที่การติดตั้งเครือข่าย 3G ทีโอทีจะล่าช้าไปบ้าง แต่มั่นใจว่าการเปิดให้บริการจะเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งสถานีฐานของทีโอทีตามเงื่อนไขการประมูลต้องติดตั้ง 2,320 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณทล และในต่างจังหวัดรวมถึงหัวเมืองใหญ่อีก 3,000 กว่าแห่ง
       ส่วนกรณีภายหลังปี 2556 ทางทีโอทีจะต้องโอนรายได้สัมปทานให้กับกสทช. ซึ่งจะทำให้บริษัทขาดทุนในส่วนของรายได้รวม
ดังนั้นทีโอทีได้มีการวางแผนรองรับกับเรื่องนี้ไว้แล้ว ใน 4 เรื่อง เพื่อจะทำให้ทีโอทีแข็งแกร่งภายหลังหมดรายได้จากสัมปทาน เรื่องแรก การมองหาพันธมิตรทางธุรกิจเข้ามาเสริม เรื่องที่สอง เดินหน้าธุรกิจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบมีสาย เรื่องที่สาม ธุรกิจอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือไว-ไฟ และเรื่องที่สี่สุดท้าย ธุรกิจการให้บริการ3G ซึ่งแผนทั้งหมดนี้จะสรุปภายในปีหน้า ทั้งนี้ทีโอทีมีรายได้จากค่าสัมปทานประมาณ 40% หรือประมาณ 27,000 ล้านบาทจากรายได้ทั้งหมดของทีโอทีในแต่ละปี 
       “กรณีภายหลังสัญญาสัมปทานหมดลงทีโอทีจะขายเน็ตเวิร์กให้เอไอเอส     เหมือนกับที่กสทจะขายคืนทรูมูฟหรือไม่นั้นตอนนี้คงยังตอบไม่ได้"
       ส่วนแผนให้บริการไว-ไฟฟรีตามพื้นที่สำคัญ อาทิ สถานที่ราชการ สถานศึกษา และสาธารณะตามนโยบายของกระทรวงไอซีทีนั้น คาดว่าจะได้เห็นภายในเดือนตุลาคมนี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นในส่วนของทีโอทีเท่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับกสทแต่อย่างใด แต่ในตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ว่าจะเป็นพื้นที่ไหนบ้าง
ทำไม เรา จึงจำเป็นต้องทำตั้งแต่วันนี้  ทั้งๆที่ยังใช้ได้ไม่ทั่วถึง
คำตอบ
หากคุณได้รับคำถามว่า ต่างจังหวัดที่อยู่ห่างไกล ยังใช้ไม่ได้ ทำอย่างไรดี?
ผมขอตอบว่าวิกฤตนี้เป็นโอกาสของเราจริงๆเลยครับ จังหวัดของเรายังไม่เปิดใช้  แต่วันนี้เรารู้ก่อนใครในจังหวัด
พอเปิดตูมขึ้นมาเราก็ทำก่อนใครแล้ว ข้อมูลเราแน่นแล้ว  นี่คืองานที่ทำภายใต้มติคณะรัฐมนตรี งานที่ทำภายใต้แผนแม่บทของกระทรวง ICT ฉบับที่2(2552-2556 begin_of_the_skype_highlighting            2552-2556      end_of_the_skype_highlighting)ที่บอกว่าจังหวัดใหญ่ๆต้องเปิด3.9Gให้ได้อย่างช้า ในเดือนพฤศจิกายน 
เฉพาะในกรุงเทพฯและ 14 จังหวัดเหล่านี้  ก็มีคน  มีลูกค้า  มีคนร่วมทำธุรกิจไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคนแล้ว เรา
ต้องการ เครือข่ายภายใต้สายงานเราเพียง 1 แสนคนเท่านั้น   เราก็มีรายได้เป็นล้านบาทต่อเดือนแล้ว   และถึงอย่างไรระบบนี้ก็ต้องใช้ได้ทั่วประเทศตามมติคณะรัฐมนตรี ภายในเดือนพฤษภาคมปี2555  แน่นอน หากใช้ไม่ได้บริษัทผู้รับเหมาต้องลำบากแน่ๆเพราะจะถูกปรับ  ถูกฟ้อง  และไม่ได้เงินงวดสุดท้ายในการก่อสร้าง จากรัฐบาล

บริษัทที่ขายซิมการ์ดให้กับทีโอที เดิมนั้น มีบริษัทใดบ้าง
คำตอบ
สำหรับผู้ให้บริการรายเดิม 5 รายได้แก่
1.สามารถไอโมบาย   2.ไออีซี  3.ล็อกซเล่ย์   4.เอ็มคอลเซาท์   และ5.บริษัท365 คอมมูนิเคชั่น

ทีโอที กับ เอสเอสเอ็น และ เรา  มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
คำตอบ
ทีโอที แต่งตั้งให้ เอสเอสเอ็น เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3G ของทีโอที โดยเอส
เอส เอ็น จะได้ส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายซิมการ์ด  และค่าใช้บริการ หรือAIR TIME ซึ่งอยู่ในรูปของบัตรเติมเงิน หรือการหักเงินจากบัญชีธนาคารของลูกค้าแบบรายเดือน
เอสเอสเอ็น มี เรา เป็นผู้ที่ ช่วยกันใช้สินค้าของทีโอที ในขณะเดียวกันก็เป็น
ผู้ช่วยจำหน่ายร่วมกับเอสเอสเอ็นด้วย ซึ่งเอสเอสเอ็น ก็จะให้ส่วนแบ่งรายได้ที่ได้มาจากทีโอที มาจ่ายให้กับ เรา ตามระบบที่ได้กำหนดไว้
สรุปได้ว่า ทีโอทีจ่ายเงินให้กับเอสเอสเอ็น และเอสเอสเอ็นจ่ายเงินให้กับเรา ไม่ใช่ ทีโอ
ทีจ่ายเงินให้กับเราโดยตรง จึงมีหลายคนเข้าใจผิดคิดว่าทีโอทีจ่ายเงินให้เรา ซึ่งจริงๆแล้วเอสเอสเอ็นต่างหากที่จ่ายเงินให้เรา  เพียงแต่เงินจำนวนนี้ มาจากที่มาเดียวกัน คือ จากการขายผลิตภัณฑ์ 3.9G ของทีโอที แต่ต้องอธิบายให้ถูกต้อง หรือพูดลำดับขั้นตอนให้ถูกเท่านั้นเอง

12. การออกใบอนุญาต 3G ทำอย่างไร
คำตอบ
สำหรับการออกใบอนุญาตใช้สูตรN-1คือถ้ามีผู้เข้าร่วม10เจ้าก็จะมีผู้ได้ใบอนุญาต9ใบครับ ราคาค่าซอง500,00
มัดจำซอง10%ของใบอนุญาต1,280ล้านราคาใบอนุญาต12,800ล้านบาท
                สาเหตุที่ไม่มีคนเข้าร่วมเพราะการเมืองเป็นหลักและที่สำคัญอีกอย่างคือพรบ.ร่วมทุนของต่างชาติครับอย่าเพิ่งคิดว่า12,800ล้านแล้วเราจะได้ใช้น่ะครับนี่แค่ค่ากระดาษใบเดียวน่ะครับ ยังไม่รวมค่าโครงข่ายซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เงินอีกประมาณ50,000-60,000ล้านต่อเจ้า
เห็นจำนวนเงินแล้วหนาวเฉียด100,000ล้าน การเมืองไม่นิ่ง แถมพรบ.ร่วมทุนก็ไม่ชัดเจน เลยไม่มีใครไม่มีใครอยากลงทุน

13.   เราจะได้อะไรจาก ระบบ 3G บ้าง
คำตอบ
ได้ใช้โทรศัพท์อย่างสนุกสนาน  มีความสุข  มีประสิทธิภาพสูง
ได้ใช้อินเตอร์เนตที่มีความเร็วมากกว่าปกติ
ประเทศได้รับประโยชน์ในแทบทุกด้าน เช่น การแพทย์  การศึกษา  การคมนาคม  การเกษตร  การทหาร  การรักษาความปลอดภัย  ความมั่นคงของชาติ
และเรายังได้ธุรกิจ  ทำให้เรามีรายได้จากการใช้ 3 G อีกด้วย

14.   เคล็ดลับที่จะทำให้เรามีรายได้ภายใน เดือนที่5 สัปดาห์ที่2” ทำอย่างไร
คำตอบ
ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่ากำลังจะทำอะไร....  เรากำลังได้รับมอบหมายงาน ให้มาทำโครงการขยาย
เครือข่ายผู้ใช้ระบบ 3.9G     ซึ่งงานนี้ไม่มีใครได้ทำง่ายๆ ถ้าไม่รู้จัก   รัก และนับถือกันจริงๆ     นี่ดีว่ามีโอกาสได้รู้จักกับประธานโครงการฯ  ท่านก็เลยให้มาช่วยทำและให้งบฯมาใช้หลายแสน (หรือหลายล้าน)เหมือนกัน
ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบ 3G ให้รู้ได้มากที่สุด  รู้ครอบคลุมในทุกๆด้าน ถึงแม้จะจำได้ไม่หมด แต่
ก็ขอให้รู้ว่าจะตอบคำถาม และหาความรู้ เกี่ยวกับ 3G ได้ที่ไหน
คัดเลือก คน ที่จะมาร่วมงานกับเรา
ทำตามแผนที่โครงการได้เซ็ทไว้ คือ โครงการ มุ่งสู่เป้าหมาย 3 ล้านบาท ในเดือนที่5 สัปดาห์ที่2” โดย
ใช้บัตรเชิญ  หรือชวนคนที่สนิท  คนที่ชอบทำธุรกิจ  คนที่ชอบเปิดโอกาสให้กับตัวเอง  โดยแผนของโครงการเริ่มต้นจากคนเพียง 2 คน จับมือ  มุ่งมั่น  ร่วมกันทำงาน คือไป เปิดโอกาสให้คนไทย ได้ มีความรู้  และ มีรายได้จากการใช้โทรศัพท์
ติดตาม กำกับดูแลองค์กรของตนเองอย่างใกล้ชิด  คอยอำนวยความสะดวก  และประสานงานในส่วน
ต่างๆให้กับทีมงานแล้วเสร็จ

15.   คำถาม ระบบ 3G ของค่ายอื่นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบซึ่งค้นคว้ามาจากอินเตอร์เนต มีดังนี้ครับ
Results

3G ในไทย..มีค่ายไหนและที่ไหนให้ใช้บ้าง?

วันที่: 15 พฤษภาคม 2011
มีสมาร์ทโฟนหรือแท๊บเล๊ทมากมายในตลาดมือถือหรือสินค้าไอทีในปัจจุบันนี้ ที่มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์แต่ก็ต้องเจอกับเน็ตที่ช้าๆ  โดยเฉพาะในประเทศไทยที่ประชากรส่วนใหญ่มีอุปกรณ์มือถือและแท๊บเล็ท ที่รองรับเทคโนโลยีเชื่อมต่อไร้สายด้วยเครือข่าย 3G แล้วแต่ประเทศไทยยังให้บริการ 3G ไม่ครอบคลุมทั้งประเทศซะที ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ยังใช้ แค่ระดับยุค 2G เปรียบเสมือนมีรถหรูที่อยากจะซิ่งด้วยความเร็วสูง แต่ได้แค่ขับรถช้าๆบนถนนดินอยู่ ยกเว้นชาวกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น เชียงใหม่ ชลบุรี พัทยา ภูเก็ต โคราช หัวหิน ก็เริ่มให้บริการ 3G กันบ้างแล้ว

3 จี (3G) หรือ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ยุค 1และ 2G


โทรศัพท์มือถือยุคปี 1991
ในยุค 1จะส่งสัญญาณ แบบ Analog จะเน้นแค่การโทรศัพท์ด้วยเสียงเท่านั้น  เหมือนโทรศัพท์บ้าน แต่ไร้สาย โทรศัพท์ตัวมือถือก็ยังเป็นตัวเครื่องขนาดใหญ่มีเสาอากาศต้องยกแบบเหมือนถือกระเป๋าหิ้ว  ในปีต่อมามือถือก็มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆจนสามารถนำโทรศัพท์มือถือใส่กระเป๋าสตางค์ไปได้ในยุคปัจจุบันแต่จอมือถือยังเป็นจอธรรมดา มีสีแค่ขาวดำเท่านั้น


ยุค 2ก็จะกลายเป็นการส่งสัญญาณแบบ Digital โทรศัพท์จะมีความสามารถเพิ่มขึ้น ความสามารถของตัวโทรศัพท์เริ่มแสดงทั้งภาพและเสียงรวมทั้งสี การสื่อสารด้วยเสียงจะมีความชัดเจนมากขึ้นอีก สามารถท่องเน็ตได้ด้วย GPRS ในรูปแบบมีภาพและข้อความ รวมไปถึงการส่งข้อความสั้นแบบ SMS แต่ความเร็วในการท่องเน็ตมันช้าๆเท่ากับ ยุคการต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Modem56Kbps ตามบ้านเมื่อหลายปีก่อน
แล้วมาจนมาถึงปัจจุบันนี้ก็มีการพัฒนาเครือข่ายและคุณภาพสัญญาณ จนความเร็วการส่งอินเตอร์เน็ตนี้อยู่ในระดับเฉลี่ย  220 Kbps ในความเร็วระดับ EDGE ซึ่งเร็วกว่าในยุคระดับ GPRS และยุคโมเด็ม 56Kbps ในยุคก่อนมาก แต่ความเร็วแบบนี้คงไม่เพียงพอกับความต้องการของทุกๆคนที่ต้องการใช้ความเร็วมากกว่านั้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตให้ดีขึ้น


มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS (Universal Mobile Telecommunications System)  หรืออีกชื่อนึ่งก็คือ 3GSM   ในบางครั้งก็เรียกมันอีกชื่อนึงซึ่งตรงกับอุปกรณ์มือถือ หรือ ตัวอุปกรณ์สื่อสารอื่นจะมีชื่อ WCDMA ในข้อมูลspec ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 MHz(ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สากลที่โทรศัพท์ระบบ 3ต้องมี) เพื่มความสามารถในการชมผ่านเครือข่ายมือถือที่เร็วยิ่งขึ้นเทียบเท่าหรือเร็วสูงกว่า ADSL แบบมาตรฐาน  เพิ่มความสามารถของโทรศัพท์โทรออกคุยแบบเห็นหน้าได้ (Video Call) , ชมทีวีผ่านอินเตอร์เน็ตบริการ MobileTV , InternetTV ที่สามารถชมรายการทีวีแบบสดๆ หรือดูคลิปวีดีโอบน youtube และดูรายการทีวีย้อนหลัง บนมือถือคุณ หรือเข้าชมเว็บไซต์เพื่ออ่านบทความหรือเล่น social media ,การส่งข้อมูลไฟล์ภาพ วีดีโอต่างๆส่งให้เพื่อนๆได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยความเร็วในการDownload ผ่าน 3G สูงสุดที่ 7.2 Mbps
ข้อมูลจาก wikipedias , blog 3G truemove

15. ความจริงประเทศไทยมี 3แล้วหรือยัง?

คำตอบคือมีแล้ว แต่น้อยมากๆ เป็นหย่อมๆ น้อยกว่าพื้นที่บริการ wifi เสียอีก และมีแค่บางจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเที่ยว และ กทม,ปริมณฑล ในบางที่ เท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ตามต่างจังหวัดต่างๆ ไม่มี3G ให้บริการ
สำหรับผู้ให้บริการด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 3G นั้น ก็มีโอเปอร์เรเตอร์ให้บริการกันแล้วแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงทดลองใช้บริการ แต่ต้องตรวจสอบกับโทรศัพท์มือถือ  แท๊บเล๊ท และแอร์การ์ดหรือตัวMi-Fi นี้ว่าอุปกรณ์สเปคความถี่ 3G นี้ควรใช้กับซิมของโอเปอร์เรเตอร์รายไหนเช่น

อุปกรณ์รองรับสัญญาณ UMTS / WCDMA หรือ3G สัญญาณคลื่นความถี่ 900Mhz ต้องไปใช้กับเครือข่าย AIS
อุปกรณ์รองรับสัญญาณ UMTS / WCDMA หรือ3G สัญญาณคลื่นความถี่ 850Mhz ต้องไปใช้กับเครือข่าย  Truemove (รวมทั้ง truemove H ในอนาคต) และ dtac ด้วย ซึ่งทาง dtac จะเปิดทดลอง 3G ให้กับบุคคลทั่วไปในเร็วๆนี้ เบื้องต้นมีผู้ทดสอบกว่า 2000 คนเท่านั้นอยู่
อุปกรณ์รองรับสัญญาณระบบ CDMA 2000 1x EV-DO สัญญาณคลื่นความถี่ 1.25 MHz  ใช้กับ CAT ในชื่อบริการCATCDMA ,และ HUTCH (ซึ่งกำลังเปลี่ยนชื่อเป็น Truemove H)  แต่คาดว่าระบบ CDMA กำลังจะถูกยกเลิกบริการในประเทศไทยภายใน 2 ปีข้างหน้าโดยจะเปลี่ยนเป็นเครือข่าย GSM แทน ในคลื่นความถี่ 850 MHZ เช่นเดียวกับ dtac และ true
อุปกรณ์รองรับสัญญาณ UMTS / WCDMA หรือ3G สัญญาณคลื่นความถี่ 1900-2100Mhz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่สากล สามารถใช้กับอุปกรณ์ทั้งมือถือ แท๊บเล็ต และแอร์การ์ดรวมทั้งตัว MI-FI ได้แทบทุกตัว โดยผู้ให้บริการ 3G นี้ บริการโดย TOT ในชื่อว่า TOT3G และเครือข่าย MVNO หลายรายเช่น  IEC , I-Mobile3GS , 365 , i-Kool3G , Mojo3G เป็นต้น ขณะนี้ได้เปิดบริการ TOT3G เต็มรูปแบบแล้วเมื่อวันที่  3 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา และจะขยายเครือข่าย 3G ในกรุงเทพและต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นไปอีกคาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีในการขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
ปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (3rd Generation of mobile service) แล้ว โดยมี Operator ให้บริการดังนี้









1. AIS ในชื่อ AIS Mobile Internet   (http://www.ais.co.th/mobileinternet/home.html)
ให้บริการด้วยคลื่น 900 MHz เทคโนโลยี 3.5G HSPA  เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ,
พื้นที่ ให้บริการ ในเขตตัวเมืองเชียงใหม่  โคราช  ชลบุรี  หัวหิน
และกรุงเทพมหานคร
  บริเวณ ศูนย์การค้า Centralworld  สยาม และ Digital Gateway

นอกจากนี้ยังให้บริการ EDGE ทั่ว 76 จังหวัด และมี Wi-FI กว่า 15,000จุดทั่วประเทศด้วยผ่านเครือข่าย
wi-fi hotspot ของ 3BB


2. TrueMove ในชื่อ truemove 3G+WiFi (http://www.truemove.com/3g)
ให้บริการด้วยคลื่น 850 MHz เทคโนโลยี 3.5G HSPA  อยู่ในขั้นทดลองให้บริการ ในรูปแบบของแถม โดยรวมกับบริการแพคเกจ อินเตอร์เน็ตแบบ EDGE , GPRS
พื้นที่ให้บริการทั่วกรุงเทพและปริมณฑล  ชลบุรี เชียงใหม่
และภูเก็ตบริเวณ สนามบินนานาชาติ และ หาดป่าตอง
  เร็วๆนี้จะเปิดบริการที่หัวหินด้วย



3. Dtac Mobile Internet On 3G  ( http://www.startpage.in.th )

ให้บริการด้วยคลื่น 850 MHz เทคโนโลยี 3.5G HSPA  อยู่ในขั้นทดลองให้บริการฟรี เฉพาะ 2000 คนที่ได้ทดสอบเท่านั้น และเตรียมเปิดบริการเชิงพาณิชย์เร็วๆนี้ ต้องรอจากทาง CAT ก่อน
พื้นที่ให้บริการเฉพาะกรุงเทพชั้นใน บริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พันธ์ทิพย์ (ประตูน้ำ), มาบุญครอง, สยามแสควร์, สามย่าน, และจามจุรี สแควร์ แนวถนนสุขุมวิทจากประตูน้ำถึงเอ็มโพเรียม แนวถนนสีลม
ล่าสุดปิดการทดสอบ 3G แล้ว เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาและยังไม่ทราบว่าจะเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อไหร่




4. TOT 3G (http://www.tot3g.net)
ให้บริการ ให้บริการด้วยคลื่น 1900/2100 MHz เทคโนโลยี 3.5G HSPA  เชิงพาณิชย์
พื้นที่ให้บริการ ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล  515 สถานีฐาน และกำลังขยายครอบคลุมถึง 18 จังหวัดภายในเดือน พฤศจิกายน 2554 นี้
ใน กรณีของ ToT มีการให้บริการในระบบ MVNO (Mobile Visual Network Operator) คือให้มี Operator ให้บริการในแบบเช่าใช้เครือข่ายของ ToT อีกด้วย ได้แก่
4.1 i-mobile 3GX (http://www.i-mobile3gx.com)
4.2 365 (http://www.365.co.th)
4.3 IEC 3G (http://www.iec3g.com)
4.4 Mojo 3G (http://www.mojo3g.com)
4.5 i-Kool (http://www.i-kool.net)


5. CAT CDMA (http://www.catcdma.com)
ให้บริการ 3บนพื้นฐานของเครือข่าย CDMA 2000 1X EV-DO rev.A ความเร็ว 3.1 Mbps คลื่น 800 MHz เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ พื้นที่ ให้บริการ 51 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคใต้ (http://www.catcdma.com/th/about-area.rhtml) ยกเว้นภาคกลางและตะวันออก



6. Hutch (http://www.hutch.co.th)
ทดลองเปิดให้บริการ 3ในบางพื้นที่ (เก็บค่าบริการตามปกติเท่ากับส่วนที่ยังไม่ได้ upgrade เป็น 3G [CDMA2000 1X])
พื้นที่ ให้บริการ 3กรุงเทพ+ปริมณฑล หัวหิน ชลบุรี-พัทยา-ศรีราชา
โดยให้บริการ
 3บนพื้นฐานของเครือข่าย CDMA 2000 1X EV-DO ความเร็ว 2.4 Mbps คลื่น 800 MHz



7. Truemove-H (http://truemove-h.com)
ล่าสุด HUTCH ถูกซื้อกิจการโดยทาง trueแล้ว และเปลี่ยนชื่อเป็น Truemove H เพื่อให้บริการบนเครือข่าย เทคโนโลยี 3.5G HSPA+   ความถี่ 850 MHz เชิงพาณิชย์  โดยให้ความเร็วสูงสุดถึง 16 Mbps  และ3G ระบบ [CDMA2000 1X EV-DO])
โดยมีพื้นที่บริการบริเวณ กรุงเทพและปริมณฑล และ หัวหิน   http://truemove-h.com/what3g.htm และคาดว่าจะยกเลิกให้บริการ CDMA ภายใน 2 ปี

ด้วยความปรารถนาดี
จาก
 ผู้นำทีม ออนไลน์
THAILAND 3.9G

ถ้าจะดูความมั่นคงของบริษัทนี้ให้ดูที่ไหน
    ดูที่ การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ 3G ของทีโอที ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2554 เป็นต้นไป
ข้อสังเกต
ถ้าหากเป็นบริษัทธรรมดาก็คงจะทำอย่างนี้ได้ยาก ทีโอทีเองก็คงจะมีวิธีการ มีมาตรการในการคัดเลือกบริษัทที่จะมาเป็น คู่ค้าอยู่พอสมควร ว่าจะต้องมีที่มาที่ถูกต้อง  มีผู้ที่น่าเชื่อถือให้คำรับรอง 
       ดูจากการที่มีกลุ่มบุคคลที่ดูแลในเรื่องของ ความมั่นคงของชาติ หลายท่านเข้ามาร่วมทำ
ธุรกิจด้วย เช่น พลตรี...........................................ตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก  พันเอกอุชุกร  ทรงวรัชร์  และนายทหารระดับชั้นยศสัญญาบัตร และชั้นประทวนอีกหลายนาย  ซึ่งยังรับราชการยู่ในปัจจุบัน  มีอาจารย์ระดับด็อกเตอร์หลายท่านเข้ามาร่วมงานกับเรา

MVNO (Mobile Virtual Network Operators) หมายถึง ผู้ขอใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ ได้รับใบอนุญาต
ประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายต่อบริการ ตามประกาศคณะกรรมการกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ในการร่วมธุรกิจของ MVNO ตามประกาศของ กทช.ปัจจุบันการประกอบกิจการโทรคมนาคมได้เปิดเสรีทางธุรกิจ
ไม่มีกฎหมายกำหนดอำนาจให้ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการโดยเฉพาะกทช. ได้อนุมติให้ ทีโอที ประกอบกิจการประเภทขายส่งบริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

1. ให้ ทีโอที ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศ กทช. เรื่องการประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทขายส่งบริการ
บริการขายต่อบริการ และระเบียบ/ประกาศที่ กทช. กำหนดโดยเคร่งครัด

2. ให้ ทีโอที รายงานสถานการณ์ประกอบกิจการขายส่งให้ กทช. ทราบทุก 3 เดือน

3. ให้ ทีโอที ส่งแผนการดำเนินธุรกิจ ( Business Model ) ที่ยึดหลักการให้บริการแบบผู้ให้บริการแบบโครงข่าย
( Network Provider ) หรือการให้บริการแบบขายส่ง ( Wholesaler )

4. ให้ ทีโอที ส่งแผนความรับผิดชอบต่อสังคม ( Corporate Social Responsibility : CSR ) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ความรับผิดชอบในเรื่องขยะอิเล็กทรอนิกส์ และจัดทำแผนความเสี่ยงเพื่อรองรับด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็ว

5. ให้ สกทช. แจ้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณี MVNO ที่จะขอทำธุรกิจกับ ทีโอที ถ้ามีมูลค่าเกินหนึ่งพันล้านบาท จะต้อง
ดำเนินการตาม พรบ. ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามข้อสังเกตุของ
คณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ

MVNO เป็นเพียงผู้ให้บริการแก่ผู้บริโภค โดยใช้ตราสินค้า (Brand) ของตัวเองเป็นหลัก จะมีเพียงระบบบางส่วนที่ MVNO
ลงทุนสร้างขึ้น เช่น Application Server สำหรับให้บริการลูกค้า โดยไม่ต้องลงทุนด้านอุปกรณ์โครงข่ายใด ๆ

บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการเครือข่าย (Mobile Network Operator : MNO)ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบ
กิจการโทรคมนาคมขายส่งบริการตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และเป็นผู้มีสิทธิให้บริการโทรศัพท์
เคลื่อนที่ 3G ซึ่งจะเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในระยะแรกในวันที่
3 ธันวาคม 2552 จึงได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจที่ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม
ประเภทบริการขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ประสงค์จะขอทำธุรกิจขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
(Mobile Virtual Network Operator : MVNO) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา
โดยได้กำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมทำธุรกิจขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ( MVNO) ดังนี้

1. ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนก่อตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 5ล้านบาท
(ชำระเต็มมูลค่า) โดยมีหลักฐานการจดทะเบียน ซี่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้หรือรับรองไม่เกิน
6 เดือน นับถึงวันยื่นความประสงค์

2. ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตหรืออยู่ระหว่างการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมประเภทบริการขายต่อบริการ
ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

3. ต้องมีตราสินค้า (Brand) หรือได้รับสิทธิให้ใช้ตราสินค้าที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และมีช่องทางการจำหน่าย
ที่กว้างขวาง

บริษัทที่เสนอเป็นผู้ขอใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 G (MVNO) กับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ปัจจุบัน
(5 มกราคม 2553) มีจำนวน 5 ราย ดังนี้

1. บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)
2. บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท เอ็มคอนซัลท์ จำกัด
4. บริษัท ไออีซี เทคโนโลยี จำกัด
5. บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด

ประโยชน์ที่ บมจ.ทีโอที จะได้จากการทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G กับผู้ให้บริการขายต่อบริการ (MVNO)ในส่วนของรายได้
บมจ.ทีโอที จะมีรายได้จากการทำธุรกิจกับ MVNO ดังนี้

1. รายได้จากจำหน่าย SIM Card
2. รายได้จากการจำหน่ายบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G (Voucher)
3. รายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ได้แก่ Voice, SMS, MMS, Internet, Video Calling เป็นต้น
4. รายได้ค่าบริการระบบสนับสนุน บริการระบบจัดทำบิล
5. รายได้ค่าบริการระบบสนับสนุน บริการ Call Center
6. รายได้อื่น ๆ

ในส่วนของค่าใช้จ่าย บมจ.ทีโอที สามารถลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงได้ ดังนี้

1. ค่าการจัดการส่วนของระบบจัดเก็บเงิน (Billing)
2. ค่าใช้จ่ายในการขาย
3. ค่าใช้จ่ายในการทำตลาด
4. ค่าใช้จ่ายในส่วนของการบริการลูกค้า
5. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ